วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เก็บมาฝาก PHO RSU ภาพถ่ายสารคดี Documentary

การถ่ายภาพ สารคดี (Documentary) เหมือนงานเอกสาร แต่ต้องแปลจากตัวหนังสือมาเป็นภาพถ่าย ภาพถ่ายสารคดีไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ภาพถ่ายวิถีชีวิตหรือสังคมเท่านั้น แต่มันรวมไปถึง ภาพถ่ายสถาปัตยกรรม ภาพถ่ายทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ภาพถ่ายธรรมชาติ ภาพถ่ายเชิงมานุษยวิทยา ภาพถ่ายเดินทาง ท่องเที่ยว ภาพถ่ายทางดาวเทียม ล้วนแต่เป็นงานภาพถ่ายเชิงสารคดีทั้งสิ้น

วัตถุประสงค์หลักของภาพถ่ายประเภทนี้คือการ บันทึกหลักฐานเอกสารเพื่อเก็บเป็นข้อมูล ในฐานะสื่อทางภาพที่มีอิทธิพลต่อความคิดและอารมณ์ ขอบเขตของงานภาพสารคดีจึงมิได้หยุดอยู่แค่การบันทึกข้อมูลหลักฐานเอกสารเท่านั้น รูปแบบของภาพถ่ายสารคดียังนำไปใช้ในการโน้มน้าวกระแสสังคมได้อีกด้วย

ความแตกต่างของภาพ สารคดี (Documentary) กับภาพข่าว, conceptual และ street shoot
-การถ่ายภาพสารคดี (Documentary) เหมือนงานเอกสาร แต่ต้องแปลจากตัวหนังสือเป็นภาพ เป็นการถ่ายภาพตามความเป็นจริงภาพไม่มีการตัดต่อ หรือจัดฉาก หรือสร้างเรื่องราวขึ้นมาเอง ใช้เวลาเรียนรู้กับเรื่องนั้น ๆ นาน
- การถ่ายภาพข่าวคือการบันทึกเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้น อย่างทันทีทันใดตามความเป็นจริง แต่ไม่ได้สาวลึกเข้าไปในรายละเอียด
- การถ่ายภาพแบบ Conceptual คือการถ่ายภาพแบบวาง concept ตามมโนภาพของช่างภาพว่าต้องการให้ภาพออกมาแบบไหนการถ่ายภาพแบบ Street shoot คือการถ่ายภาพแบบเดินตามถนน เห็นอะไรน่าสนใจก็ถ่ายแต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดที่มาที่ไปของภาพ

ภาพสารคดีที่ดีต้องมี:
1. ความสวยงามตามองค์ประกอบภาพ
2. เนื้อหาของภาพ ตามความเป็นจริงของสังคม ในแง่ดี หรือแง่ร้ายก็ได้ จะเป็นภาพเดียวหรือ เป็นชุดก็ได้
3. การทำงาน ภาพถ่ายแบบ Documentary เหมือนการทำ วิทยานิพนธ์ ตอนที่จะจบมหาวิทยาลัยนั่นเอง
4. ต้องศึกษาค้นคว้าข้อมูลในเชิงลึกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทั้งในด้านบวกและด้านลบ หาต้นกำเนิด แหล่งที่มา อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
5. วาง conceptของภาพที่อิงกับความเป็นจริง สำรวจและทำความเข้าใจในสิ่งที่จะถ่าย ทำความคุ้นเคย ทำตัวกลมกลืน สร้างมิตรภาพระหว่างช่างภาพและสิ่งที่เราจะถ่าย ทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อสร้าง Connection เพื่อในโอกาสหน้า มีข่าวคราวอะไรจะติดต่อเราให้มาถ่ายได้
6. ไม่ควรจัดฉากถ่าย หรือ set ถ่ายภาพ (ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ดูที่ output)
7. การแต่งภาพ ไม่ควรทำ ทำได้แค่ปรับความสว่าง มืด ของภาพเท่านั้น สายไฟที่รกเราก็ต้องเก็บไว้เพราะนั่นคือความจริง แต่บางอย่างที่เคลื่อนย้ายได้ และรกหูรกตา ก็เก็บกวาดออกก่อนถ่ายจะดีกว่า
8. การถ่ายภาพแบบ สารคดี (Documentary) จำเป็นต้องเป็นภาพ ขาว ดำหรือไม่ : ไม่จำเป็นแต่ที่ช่างภาพส่วนมากใช้ ขาว ดำ เพราะภาพขาวดำส่วนมากสื่ออารมณ์ได้ดี และช่างภาพต้องการลบสีสันในภาพออกไป ไม่ให้รบกวานสายตา, ภาพหดหู่ ต้องส่วนมากใช้ขาวดำ, แต่บางภาพไม่ควรใช้ภาพขาวดำเพราะผิดธรรมชาติ เช่นภาพ "ใบไม้ใบสุดท้าย" แต่เป็นภาพขาวดำ เราไม่สามราถมองเห็นได้ว่าใบสุดท้ายมันสีอะไร?
9. เรื่องที่ต้องการนำเสนอสำคัญที่สุด ความงามของภาพเป็นอันดับต่อมา ต้องสามารถสื่อให้เห็นสถานที่ได้ ใช้ภาพให้ หลากหลายมุมมอง
10. ต้องมีเวลาและทุ่มเทเวลากับโปรเจ็คนั้นๆ อาจเป็นปี ถ่ายแล้วกลับมาดูถ้าไม่ดีก็กลับไปถ่ายใหม่
11. เงินทุน เพราะตอนที่เรายังไม่มีชื่อเสียงเราต้องเริ่มแสวงหาข้อมูลและออกถ่ายด้วยตัวเราเอง
12. ต้องมีจุดประสงค์ว่า ต้องการถ่ายไปเพื่ออะไร.. ส่งพิมพ์ตามหนังสือ หรือส่งขาย แต่สิ่งสำคัญทีควรทำคือ .. ขอให้ผลงานนั้นคืนกลับสู่สังคม คืนกลับสู่ต้นกำเนิดของภาพ อาจจะเป็นการทำ postcard ขาย กำไรคืนสู่ต้นกำเนิด เพื่อเป็นการช่วยสังคมให้ดีขึ้น อย่างน้อยก็เป็นกระบอกเสียงให้สังคมรับทราบและตื่นตัว
13. ต้องชั่งน้ำหนักด้วยว่าเรื่องบางเรื่องควรแตะต้องถ้าต้องการกระจายข่าวให้สังคมรับรู้ แต่เรื่องบางเรื่องถ้าทำแล้วมันทำให้ต้นกำเนิดภาพเสื่อมเสียหรือเสียหาย หรือจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงก็ไม่ควรทำ14. ทำตัวเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
15. แก้สถานการณ์ล่วงหน้าได้

DAO (สรุปจากการอบรมในหัวข้อการถ่ายภาพสารคดี กับ คุณสุเทพ กฤษณาวารินทร์)

*คัดลอกมาจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชุลีพร เกษโกวิท, การถ่ายภาพวารสารศาสตร์, บทที่ 8 สารคดี, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546 และควรอ่านhttp://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=article&sid=2398http://www.focusingclub.net/article/art-technic/documentary-photography/#more-1237

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น